
เพราะภาษาไทยมีโทนเสียงอันเต็มไปด้วยเสน่ห์ และเป็นเอกลักษณ์ ที่เกิดจากการนำตัวอักษรมาผสมกับวรรณยุกต์จนเกิดเป็นคำมากมายให้เราได้ใช้พูดใช้เขียน และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาให้เข้ากับยุคเข้ากับสมัยโดยความงดงามอันเกิดจากการประดิษฐ์คำไทยให้ออกมาน่าฟังนี้ จึงกลายเป็นที่มาของการแต่งกาพย์กลอน ที่มีความแตกต่างด้านฉันทลักษณ์ ซึ่งเต็มเปี่ยมไปด้วยโดดเด่น และสร้างความแปลกใหม่ของการใช้คำได้เป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เองที่ถือเป็นจุดดึงดูดสายตาของคนทั่วโลกให้มาเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มมากขึ้น ความเป็นมาของการประพันธ์กาพย์ โคลง กลอน ทั้งร้อยกรองร้อยแก้วนั้น ล้วนแล้วก็มีเรื่องราวมากมายแฝงอยู่ซึ่งสามารถสะท้อนแนวความคิดของผู้คนในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังสามารถบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย ที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคปัจจุบันโดยตรง จากการประพันธ์ของบรรดาเหล่ากวีเอกในสมัยนั้นๆ ก็ได้กลายเป็นตัวอย่างการประพันธ์ที่เป็นสมบัติตกทอดกันมาอย่างยาวนาน เพื่อให้กวีหน้าใหม่ได้ศึกษาเป็นแนวทาง และช่วยอนุรักษ์สืบสานไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้สืบไป สัมผัสสระในบทร้อยกรอง แน่นอนว่าความไพเราะเพราะพริ้งของบทร้อยกรองจะต้องมีเรื่องการใช้สัมผัสต่างๆ มาเกี่ยวข้องในการประพันธ์ เนื่องจากรูปแบบโคลงกลอนต้องการความสละสลวย ฟังแล้วต้องรื่นหู ดังนั้นสัมผัสนอก และสัมผัสใน รวมไปถึงการใช้สัมผัสอักษร และสัมผัสสระนั้นจึงต้องถูกนำมาใช้ ให้เหมาะสมกับประเภทของบทร้อยแก้วร้อยกกรองเพื่อให้ได้ผลงานที่งดงามต่อไป หลักการใช้สัมผัสสระ สัมผัสสระคือ การใช้คำที่ประกอบไปด้วยสระทั้งเสียงยาว และเสียงสั้นให้คล้องจองกัน ไม่ว่าจะวรรคเดียวกันหรือคนละวรรคก็ตามแต่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อใช้สัมผัสสระได้แก่ สระต้องเป็นเสียงเดียวกันกล่าวคือ ระบบสระในภาษาไทยประกอบไปด้วยเสียงสั้น […]