ทัศนศิลป์

ทัศนศิลป์ คือ การกลวิธีถ่ายทอดผลงานทางศิลปะอย่างมีจินตนาการอันโลดแล่น รวมทั้งต้องกระทำด้วยความมีระเบียบเป็นขั้นตอน เป็นการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดประสิทธิภาพสวยงามมากที่สุด โดยมีการปฏิบัติงานตามแผนการ ตลอดจนมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลักการทัศนศิลป์ อีกหนึ่งศาสตร์วิชาศิลปะ อันทรงคุณค่า

ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ เป็นการรับรู้ทางการมองเห็นที่เข้ามากระทบนัยน์ตา อีกทั้งยังรวมถึงมนุษย์ และสัตว์ ไม่ว่าสิ่งเหล่านั้นหยุดนิ่ง , เคลื่อนไหว หรือจะด้วยการปรุงแต่ง , ไม่ปรุงแต่งก็ตาม หากแต่ต้องเป็นตัวก่อให้เกิดปัจจัยที่มีความสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปด้วยขั้นตอน รวมทั้งกระบวนการถ่ายทอดอันมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นการตีความหมายไปในทางศิลปะ ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละมุมมองของแต่ละบุคคล ภายในงานศิลปะชิ้นเดียวกันคนแต่ล่ะคนอาจตีความหมายไม่เหมือนกันก็เป็นได้ ซึ่งไร้ขอบเขตจินตนาการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกนิดคิดของบุคคลในขณะรับชมทัศนศิลป์ชิ้นนั้น

โดยแนวคิดทัศนศิลป์สามารถเสพย์ซึ้งได้ด้วยการมอง ได้แก่ รูปภาพวิว , รูปภาพคนเหมือน , ภาพล้อ เลียน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น โดยความเข้าใจอย่างง่ายๆ คือ ทัศนศิลป์จัดเป็นความงามทางศิลปะอันได้จากการมองนั่นเอง

การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ

จัดเป็นหลักการสำคัญที่เหมาะสำหรับผู้สร้างสรรค์ รวมทั้งผู้ศึกษางานศิลปะในแขนงต่างๆ เพราะไม่ว่าผลงานศิลปะใดๆ ก็ตาม ล้วนเต็มเปี่ยมอัดแน่นไปด้วยคุณค่า 2 ประการ ได้แก่ คุณค่ารูปทรง และ คุณค่าเรื่องราว

สำหรับคุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการที่ศิลปินนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ของ ศิลปะ มาควบรวมไว้ด้วยกัน ได้แก่ 

ทัศนศิลป์

  • เส้น กับ สี
  • แสง , เงา , รูปร่าง , รูปทรง , พื้นผิว รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆอีกมากมาย

มาจัดเรียงร้อยเข้าไว้ด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดความงดงาม สำหรับแนวทางที่นำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัดองค์ประกอบศิลป์ โดยมีหลักการจัด อันให้เกิดคุณค่าของงานศิลปะ ได้แก่…

  • คุณค่าทางด้านเนื้อหา ที่เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงาน
  • ความสร้างสรรค์ที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัส และรับรู้
  • อาศัยรูปลักษณะอันเกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์

ศิลปิน เป็นผู้นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวซึ่งตนต้องการสื่ออกมา ผ่านทางชิ้นงาน อันเกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ หากแต่ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นมา ไม่มีความสัมพันธ์กับเนื้อหา งานศิลปะชิ้นนั้นก็จะขาดความงามไป อย่างน่าเสียดาย เพราะฉะนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป์ จึงมีความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับการสร้างสรรค์งานศิลปะให้ออกมาเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่า เนื่องจากจะทำให้งานศิลปะอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของความงามอย่างสมบูรณ์

การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักการอันควรตระหนัก 5 ประการ ได้แก่

  • สัดส่วน
  • ความสมดุล
  • จังหวะลีลา
  • การเน้น
  • เอกภาพ
  • สัดส่วน