ศิลปิน จากจีน

ศิลปกรรมจีน เป็นงานอันทรงคุณค่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภาพเหล่านั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงชีวิต , สังคม , ธรรมชาติ รวมทั้งการแสวงหาสัจธรรมอุดมคติของชีวิต ซึ่งในอดีตถูกจารึกเอาไว้บนกระดูกเสี่ยงทายเนื่องจากตัวอักษรจีนมีลักษณะคล้ายกับรูปภาพ

ศิลปะจากจีน

  • งานจิตรกรรมของประเทศจีนได้รับความนิยมมากในสมัยราชวงศ์ฮั่น โดยมีคุณลักษณะเฉพาะ คือ การเขียนลงบนผ้าไหม พร้อมวาดภาพออกมาให้เป็นเรื่องเล่า เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและภาพธรรมชาติ
  • สมัยราชวงศ์ถัง ถึงยุคพู่กัน , สี , กระดาษ โดยภาพวาดส่วนใหญ่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระพุทธศาสนากับลัทธิเต๋า
  • สมัยราชวงศ์ซ่ง งานจิตรกรรมจัดว่ารุ่งเรืองอีกยุคหนึ่ง โดยภาพวาดมักบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์และธรรมชาติ ตลอดจนทิวทัศน์ , ดอกไม้ ซึ่งเชื่อมโยงให้เข้ากับบทกวีนิพนธ์อย่างลึกซึ้ง

บิดาแห่งจิตรกรรมจีน กู่ไค่จิ้น       

ภาพนาม ‘เป่ยฉีเจี้ยวซู’ แรกเริ่มเดิมทีวาดโดยจิตรกรนาม ‘หยัง จื่อหวา’ จิตรกรนามกระฉ่อน ซึ่งได้รับการขนานนามร่วมกับ ‘กู้ ข่ายจือ’ ยอดจิตรกรเอกแห่งแผ่นดินจีน แต่ภาพต้นฉบับที่แท้จริง ได้สูญหายไปนานแล้ว สำหรับภาพที่ได้รับการเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ Boston ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นภาพเลียนแบบเขียนโดยศิลปินในยุคราชวงศ์ซ่ง ‘หยัง จื่อหวา’ เป็นจิตรกรในราชสำนัก

จิตรกรชาวจีน กู่ไค่จิ้น เป็นอาจารย์ทางงานจิตรกรรมผู้ยิ่งใหญ่ บิดาของเขาเป็นข้าราชการ ตอนเขายังเป็นเด็ก ก็สามารถเรียกได้ว่าเด็กอัจฉริยะ เพราะฝีมือของกู่เต็มไปด้วยความชัดเจนตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย อีกทั้งเขายังเป็นกวีและนักดนตรีที่มีฝีมือเฉกเช่นเดียวกับความนิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูงในยุคนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครรู้ว่าเขาได้รับการฝึกฝนมาก่อน ในฐานะจิตรกรที่มีทักษะ นอกจากนี้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเขา ก็เทียบเคียงเท่ากับผู้มีอิทธิพลชั้นนำนาม ‘Hsieh An’ เขาเป็นตัวอย่างชัดเจน ในเรื่องของอุดมคติแห่งสุภาพบุรุษจีนที่แท้จริง ซึ่งได้เรียนรู้ในทุกสิ่ง หากแต่ไม่ได้อุทิศตนเพื่อสิ่งใดเพียงอย่างเดียว

ก่อนศตวรรษที่ 4 การเขียนภาพ มีจุดประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ จิตรกรได้รับการยกย่องให้เป็นช่างฝีมือแต่ไม่ใช่ศิลปิน กู่ไค่จิ้น โดยเขาเป็นหนึ่งในคนแรกที่พยายาม พัฒนาขอบเขตของงานศิลปะพร้อมเปลี่ยนวัตถุประสงค์ดั้งเดิม โดยเขามองว่าการวาดภาพคือ รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารความรู้และเป็นศิลปะที่แท้จริง สามารถเทียบเท่าได้กับศิลปะการแต่งบทกวีและการประดิษฐ์ตัวอักษร โดยเขาพยายามที่จะ ถ่ายทอดจิตวิญญาณของมนุษย์ผ่านการบรรยายภาพบุคคล รวมทั้งการเล่าเรื่องอย่างมีชั้นเชิง การแสวงหาคุณสมบัติที่เหนือกว่ารูปแบบ ตลอดจนคำจำกัดความทางวาจา ซึ่ง ณ จุดนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการวาดภาพในฐานะศิลปะในประเทศจีน