วัดร่องขุ่นนั้นได้ถูกก่อสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2540 โดยท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรในชั้นแนวหน้าของไทย ซึ่งท่านนั้นได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างนั้นมาจาก เหตุผล 3 ประการต่อไปนี้

 

  1. ชาติ ด้วยความรักชาติ รักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงสร้างงานศิลปะชิ้นยิ่งใหญ่นี้ให้อยู่คู่กับบ้านเมืองและแผ่นดินไทย

 

  1. ศาสนา ธรรมะนั้นได้ช่วยเปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตใจที่ร้อนนั้นก็กลายเป็นเย็น จึงได้ขออุทิศตนในการสร้างนี้ให้แก่พระพุทธศาสนา

 

  1. พระมหากษัตริย์ จากการที่ได้เข้าเฝ้าฯ และได้ทำการถวายงานให้กับพระองค์ท่านในหลายๆ ครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยนั้นรักพระองค์ท่านมาก จากการที่ได้พบเห็นพระอัจฉริยภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

ดังนั้นอาจารย์เฉลิมชัยจึงได้ทำการสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลให้แก่พระองค์ท่าน โดยปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์นั้นสามารถที่จะสัมผัสได้ บนพื้นที่เดิมของวัดจำนวน 3 ไร่ และได้ทำการบริจาคทรัพย์สินส่วนตัว ร่วมกับคุณ วันชัย วิชญาชาคร บริจาคที่ดินประมาณ 7ไร่เศษ รวมถึงเงินของผู้ที่มีจิตศรัทธาท่านอื่นๆ จนทำให้ในปัจจุบันนั้นมีเนื้อที่มากถึง 12 ไร่ด้วยกัน และมี พระกิตติพงษ์ กัลยาโณรักษาการเป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

 

ลักษณะเด่นของวัด คือพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้นหลังของพื้น ประดับด้วยกระจกแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา บนปูนปั้นเป็นลายไทย โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก เหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปในลักษณะของช้างกึ่งวิหคที่ชูงวงเชิดงาอยู่ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนเป็นฝีมือของอาจารย์เฉลิมชัยทั้งสิ้น

 

ความหมายของอุโบสถ นั้น สีขาวของโบสถ์แทนพระบริสุทธิ์คุณของพระพุทธเจ้า กระจกสีขาวนั้นหมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล สะพานหมายถึง การเดินข้าววัฏสงสารมุ่งสู่ยุทธภูมิ ก่อนขึ้นบันไดครึ่งวงกลมนั้นหมายถึงโลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ชั้นนั้นหมายถึง แทน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ป่านแล้วจึงขึ้นไปสู่ แผ่นดินของอรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอก และบานประตูทิพย์ 4 บาน ในบานสุดท้ายนั้นเป็นกระจก สามเหลี่ยมแทนความว่างหรือความหลุดพ้นนั้นเอง ผนังทั้ง 4 ด้าน ฝ้าเพดาน และพื้นนั้นล้วนเป็นภาพที่เขียนเพื่อแสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมารเพื่อมุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรม

 

ส่วนบนของหลังคาโบสถ์นั้น ได้นำเอาหลักธรรมอันสำคัญ ของการปฏิบัติจิตรอย่าง ศีล สมาธิ และปัญญา นำไปสู่ความว่างหรือความหลุดพ้นนั้นเอง

 

ช่อฟ้าเอกนั้นหมายถึง ศีล ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ 4 ชนิดผสมกัน ใช้แทน ดิน น้ำ ลม และไฟ โดยที่ ช้างนั้นหมายถึง ดินนาค นั้นหมายถึง น้ำ ปีกของหงส์ นั้นหมายถึง ลม และหน้าอก นั้นหมายถึง ไฟ บนหลังของช่อฟ้าเอกนั้นแทนด้วยพระธาตุ ซึ่งหมายถึง ศีล 5, ศีล 8, ศีล 10 , ศีล 227 ข้อ และ 84,4000 พระธรรมขันธ์ โดยยังมีช่อฟ้าในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ที่แทนความหมายทางพระพุทธศาสนาในหลายประการด้วยกัน

 

ด้านหลังของหางช่อฟ้าที่3 นั้นมีลวดลายถึง 7 ชิ้น ซึ่งหมายถึง โพชฌงค์ 7 ลาย , 8 ชิ้น รองรับฉัตร ซึ่งหมายถึง มรรค 8

 

ฉัตรนั้นหมายถึง พระนิพพาน ลวดลายบนเชิงชายในด้านข้าวของหลังคาชั้นบนสุดนั้นแทนด้วยสังโยชน์

 

10 เสา 4 มุม ด้านข้างของโบสถ์นั้นคือ ตุง หรือธง กระด้าง เพื่อที่จะถวายบูชาพระเจ้าตามคติความเชื่อของชาวล้านนา

 

วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย

 

เปิดให้เข้าชมในทุกวัน เวลา 6.30 – 18.00 น.

 

ห้องแสดงภาพ เปิดให้เข้าชมวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.00 – 17.30 น. ส่วนในวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดราชการนั้น จะทำการเปิดและปิดเวลาเดียวกับวัด